การส่งบทความตีพิมพ์

วัตถุประสงค์ ขอบเขต และคำ ชี้แจง

วัตถุประสงค์ ขอบเขต และคำ ชี้แจงการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร

วิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

1. วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร

วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นวารสารที่จัดทำโดย คณะวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่า เพื่อนำ

ไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งผลงานที่เผยแพร่เป็นทั้งบทความวิจัย (research article)

บทความวิจัยอย่างย่อ (short report) บทความปริทัศน์ (review article) และ บทความคิดเห็น (opinion article)

ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์ศึกษา ทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยบทความที่จะ

ขอรับการตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้ทำการคัดลอกจากผลงานของผู้อื่น ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน

และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น โดยทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูก

ต้องทางวิชาการจากคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง

2. หลักการทั่วไป

เพื่อให้บทความอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ขอชี้แจงหลักการเขียนและส่งบทความลงพิมพ์ดังนี้

2.1 พิมพ์บทความด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word for Windows) เวอร์ชัน 2000 หรือ

XP โดยใช้รูปแบบอักษรเป็น Cordia New ยกเว้นตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ ให้ใช้รูปแบบอักษรเป็น Symbol ซึ่งราย

ละเอียดในส่วนต่างๆ เป็นดังนี้

ขนาดกระดาษต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 สีขาว พิมพ์แบบ Portrait โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ

(page setup) ส่วนระยะขอบ (Margins) ดังนี้

ด้านบน (Top) 1 นิ้ว ด้านล่าง (Bottom) 0.75 นิ้ว

ด้านซ้าย (Left) 1 นิ้ว ด้านขวา (Right) 0.75 นิ้ว

ขอบเย็บกระดาษ (Gutter) 0 นิ้ว หัวกระดาษ (Header) 0.5 นิ้ว

ท้ายกระดาษ (Footer) 0.5 นิ้ว

ต้นฉบับพิมพ์บนกระดาษ A4 หน้าเดียวความยาวไม่เกิน 10 หน้า

2.2 ชื่อเรื่องควรสั้น ชัดเจน ได้ใจความ ตรงตามเนื้อหา เนื้อเรื่องใช้ภาษาง่าย ๆ ทับศัพท์ภาษาไทยให้มาก

ที่สุด โดยวงเล็บภาษาอังกฤษไว้ครั้งแรกครั้งเดียว คำทับศัพท์ภาษาไทยที่ใช้แพร่หลาย เช่น อะตอม นิวเคลียส เป็นต้น

ไม่ต้องวงเล็บภาษาอังกฤษ คำย่อใช้ภาษาอังกฤษโดยมีคำเต็มบอกไว้ สำหรับชื่อหน่วยที่ปรากฏในเนื้อเรื่องควรใช้คำ

เต็มในภาษาไทย ตัวย่อ และสัญลักษณ์ ควรใช้ในตาราง หรือกราฟเท่านั้น ระบบหน่วยใช้ระบบเอสไอ

2.3 ชื่อวิทยาศาสตร์ ให้พิมพ์ตัวเอนตามกฎการพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ เช่น Afgekia sericea Craib

2.4 ต้นฉบับต้องแสดงชื่อผู้เขียน โดยแจ้งชื่อ นามสกุลจริง สถานที่ทำงาน จังหวัด รหัสไปรษณีย์

2.5 ภาพประกอบควรเป็นรูปถ่าย หรือไฟล์ข้อมูลรูปภาพ ความละเอียดไม่น้อยกว่า 200 จุดต่อนิ้ว

(หากต้องการให้ส่งคืนโปรดระบุ)

2.6 ต้นฉบับจะได้รับการตอบรับและตรวจพิจารณาโดยคณะบรรณาธิการ ต้นฉบับไม่มีการส่งคืน ผู้เขียน

ควรทำสำเนาไว้ด้วย

Blue joomla theme by Template Joomla